“Lifelong Learning” นักเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวคิดที่องค์กรยุคใหม่ต้องการ

การทำงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานนอกจากความรู้ ความสามารถ และ การมี Soft Skill ที่สำคัญอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ การบริหารเวลา หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่คุณต้องให้ความสำคัญและทำความรู้จักคือ ทักษะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต “Lifelong Learning” ท่ามกลางความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ในทุก ๆ วัน และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงปฏิเสธแนวคิดหรือทักษะนี้ไปไม่ได้เลย และถ้าอยากเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือเป็นคนที่มีวิธีคิดแบบ “Lifelong Learning” ต้องทำอย่างไร

 

เปลี่ยนจากคนที่มีความคิดแบบ “Fixed Mindset” เป็น “Growth Mindset”

ขั้นแรก สิ่งที่เราต้องทำคือการปลดล็อคความคิดของตัวเอง ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคิดว่า สิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นดีแล้ว หรือความรู้ที่ตัวเองมีนั้นเพียงพอต่อการทำงาน คุณก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นคนที่มีความคิดแบบ “Growth Mindset” ได้ เพราะความคิดแบบ “Growth Mindset” จำเป็นต้องหลุดออกจากพื้นที่ทางความคิดเดิม ๆ เปิดรับความคิดใหม่ ๆ มีความยืดหยุ่น เชื่อในศักยภาพของคนและองค์ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงมีวิสัยทัศน์ในการสร้างการพัฒนาทั้งต่อตัวเองและองค์กร การมีแนวคิดแบบ “Growth Mindset” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือเป็นคนที่มี “Lifelong Learning”

 

จุดเด่นในระบบการเรียนรู้ตลอดชีพของเครือข่ายเรา
Unique Features in Our Lifelong Learning Network
Worapot Ongkrutaraksa, PhD

ความแตกต่าง (differentiation) ของระบบการเรียนรู้ตลอดชีพในเครือข่ายเรานั้น อยู่ที่องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้เท่าทัน ที่มีลักษณะเป็น strategy ซึ่งจะเหนือไปกว่า literacy, 2) การทำได้จริง ที่ตั้งอยู่บนฐานของ know-how ซึ่งจะเหนือไปกว่า knowledge, และ 3) การดักทางถูก ที่กระทำผ่าน stratagem ซึ่งจะเหนือไปกว่า tacticality

ระบบการเรียนรู้ตลอดชีพ
Worapot Ongkrutaraksa, PhD
December 22, 2021

ระบบการเรียนรู้ตลอดชีพ (lifelong-learning system) มีจุดประสงค์หลักในการเพิ่มพูน คุณภาพ (quality) คุณค่า (value) และคุณธรรม (morality) ในการพัฒนา “พรแสวง” (experienced talents) และสร้างสมดุลในงานและชีวิต (work-life balance) ให้แก่ผู้เรียน ผ่านกระบวนการต่อยอด-เติมเต็มชุดความคิด (mindsets) และชุดทักษะ (skillsets) จากหน่วยวิชา (nano-modules) ที่ถูกออกแบบให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างยืดหยุ่น ภายในระบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีจบสิ้น อันมีศูนย์กลางอยู่ ณ ตัวผู้เรียนเอง (learner-centric continuous education)

ทั้งนี้ ผู้เรียนและผู้สอนจะ (1) ร่วมออกแบบ (co-design) ชุดความคิดและชุดทักษะ (2) ร่วมสรรค์สร้าง (co-create) หน่วยวิชา และ (3) ร่วมขับเคลื่อน (co-mobilize) พรแสวงที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่สมดุลในงานและชีวิตที่มีคุณภาพ คุณค่า และคุณธรรม ตามเป้าหมายข้างต้น

ความแตกต่างระหว่างระบบการเรียนรู้ตลอดชีพกับระบบการเรียนรู้ตามโครงสร้างปกติ (conventionally structured learning) ได้แก่ (1) วิธีการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทั่วไป (2) วิธีการสืบเสาะหาชุดความคิดจำเพาะ (3) วิธีการสรรค์สร้างชุดทักษะใหม่ (4) วิธีการทดสอบกระบวนทรรศน์ในลักษณะของหน่วยวิชา และ (5) วิธีการแปลงกระบวนทรรศน์ให้กลายเป็นพรแสวง ที่ช่วยสร้างสมดุลงาน-ชีวิต อันมีระดับคุณภาพ-คุณค่า-คุณธรรมสูงอย่างยั่งยืน

 

 

ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง

เรืองน่ารู้อืนๆ

กลุ่มผู้นำเรียนรู้จังหวัดต่างๆ

ข้อมูลอืนๆที่เกียวข้อง